ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดตำหนักธรรมนิมิตร (บ้านอ้อย)
- ชื่อวัด: วัดตำหนักธรรมนิมิตร (บ้านอ้อย)
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 3 รูป
- สามเณร: 7 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 73 หมู่ 1 บ้านอ้อย ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปษณีย์ 50180
- เนื้อที่: 5 ไร่ 4 ตารางวา
- โทร: 053-301027 , 081-9516336
- แฟกซ์: 053-301028
- เว็บไซต์: Facebook : https://www.facebook.com/watbanoi?fref=ts
ประวัติความเป็นมา
ประวัติวัดและหมู่บ้าน
วัดตำหนักธรรมนิมิตร เดิมมีชื่อหลายชื่อ เช่น วัดสันขวางดอนปิน, วัดทุ่งตำหนัก, วัดบ้านอ้อย, สร้างเมื่อวัน พฤหัสบดี ปีจอโทศก จ.ศ.1272 กดเส็ดภังคะเศษ 5 วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2453 เวลา 15.19 น. ยาม 7 ยามล้านนาเรียกว่า ยามถะแร๋ค่ำ ภูมิปาโลฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรีเป็นกษัตรย์ไทย ขุนบำรุงรัฐเขตเป็นนายอำเภอแม่ริมคนที่ 3 พระครูมหามงคล (ครูบาสุรินทร์) วัดดวงดีเป็นเจ้าคณะอำเภอรูปที่ 1 ขุนห้วยทรายสาระกิจเป็นกำนัน ตำบลห้วยทราย พ่อหนานไจย์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน นายกี้ พรมนาค เป็นไวยาวัจกร พ่อหนานโพธิ ศรีโรยเป็นมัคนายก พระอาจารย์ปัญญา ลอยมี เป็นเจ้าอาวาส ที่ตั้งวัดนี้เดิมนั้นเป็นไร่ปลูกข้าวเก่าของนายหนานกันธา มีชาวบ้านที่ร่วมกันบำรุงอุปถัมภ์และทำบุญในครั้งแรกจำนวน 38 หลังคาเรือน โดยอพยพมาจากบ้านอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ บ้านอ้อยเดิมชื่อบ้านน้อย ผู้สร้างอพยพมาประมาณปี พ.ศ.2413 ในการอพยพมาจากบ้านอุโมงค์นั้นมีพ่อเจ้าหนานมหาวงศ์ แม่เจ้าอุษา กาวิละ เป็นหัวหน้านำมาเพื่อเป็นการหาที่อยู่อาศัยและประกอบสัมมาชีพเลยขึ้นมาตามลำน้ำแม่ริมจนมาเจอภูมิประเทศที่พอใจจึงลงหลักปักฐานสร้างเป็นหมู่บ้านเล็กๆใส่ชื่อว่า บ้านหน้อย (หมายถึงบ้านเล็ก ๆ มีไม่กี่หลังคา) โดยทำการปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษรตและถึงเวลาเก็บเกี่ยวก็นำลงแพไปขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าอย่างอื่น และได้ชักชวนครอบครัวอื่นขึ้นมาอีกโดยบอกว่าพบที่อุดมสมบูญร์จนเป็นหมูบ้านที่มีกันประมาณ 30 ครอบครัว จนถึงฤดูกาลน้ำหลากปรากฏว่าหมู่บ้านประสพกับเหตุการณ์น้ำท่วมจึงมีมติย้ายหมู่บ้านเข้ามาอีกประมาณ 1 กิโลเมตรคือที่ตั้งบ้านปัจจุบัน ตราบจนเจ้าพ่อชีวิตอ้าวซึ่งเป็นพระเจ้าลุงของพระราชชายาดารารัศมีในรัชกาลที่ 5 พร้อมด้วยข้าราชบริพารได้มาประพาสป่าและมาพักที่บ้าน หน้อยหรือบ้านน้อย ประชาชนชาวบ้านทุกหลังคามีความยินดีมากที่เชื้อพระวงศ์เจ้าผู้นครมาพักในหมู่บ้านจึงพร้อมใจกันสร้างตำหนักถวายเพื่อเป็นที่พักและได้นำเอาอ้อยที่มีอยู่ทั่วไปได้ตัดมาถวายเพื่อเป็นอาหารของช้างที่นำมาประพาสป่าด้วยจนเป็นที่พอใจของพระองค์ จึงได้พูดกับหัวหน้าหมู่บ้านว่าต่อไปนี้ให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจากบ้านหน้อยมาเป็นบ้านอ้อยตามนามมงคลที่ได้เอาอ้อยถวายประกอบกับมีบ้านอยู่หลายหลังไม่เหมาะสมที่จะชื่อบ้านหน้อยหรือบ้านน้อย ตั้งแต่นั้นมาจึงได้เป็นบ้านอ้อยตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านอ้อยแล้วพ่อหนานไชย์ แม่เที่ยงและชาวบ้านจำนวน 38 หลังคาเรือนได้พูดคุยกันว่าสมควรที่หมู่บ้านของเราจะมีวัดเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและทำบุญตามพุทธศาสนิกชนที่ดีทั้งหลายจึงเห็นสมควรว่าจะสร้างวัดขึ้น ทางคนนำในหมู่บ้านจึงทำพิธีสัจจะอธิษฐานขึ้นว่าสมควรที่จะสร้างวัดตรงใหนโดยทำพิธีเสี่ยงทายแบบโบราณโดยให้มีเหตูการณ์เกิดขึ้นในทางที่ดีที่เป็นมงคลเพื่อความก้าวหน้าและเป็นศิริมงคลแก่วัดที่จะสร้างใหม่และหมู่บ้านต่อไปให้มีเหตุการณ์ปรากฏภายใน 3 – 7 วัน ปรากฏว่าเกิกเหตุที่ชาวบ้านปลื้มปิติยินดีเป็นอันมากที่ตอนกลางคืนได้เห็นแสงที่งดงามมากเท่าดวงจันทร์ลอยลงมาตกที่ไร่ข้าวของนายหนานกันธา ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของหมู่บ้านอยู่ทางทิศตะวันตก อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำอยู่บนดอยที่สามารถเห็นหมู่บ้านได้ทั้งหมด จึงตกลงกันว่าจะสร้างวัดกันตรงนั้นโดยได้ขอที่ตรงนั้นกับเจ้าของไร่ข้าวซึ่งได้ยกที่ตรงนั้นเพื่อสร้างวัดด้วยความยินดี ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ 29 กันยายน 2453 และได้ใส่ชื่อวัดว่า วัดตำหนักธรรมนิมิตรตั้งแต่บัดนั้นมาโดยมีเหตุที่ใส่ชื่อดังนี้
1. ตำหนัก มาจากที่ชาวบ้านได้สร้างพลับพลาตำหนักถวายแก่พ่อเจ้าชีวิตอ้าว คราเมื่อมาประพาสป่าและมาพักที่บ้านอ้อย
2. ธรรมนิมิต + ร=มิตร มาจากที่ชาวบ้านได้เห็นนิมิตคือแสงที่งดงามที่ลอยมาตกกลางไร่ปลูกข้าว และความสมัครสมานสามัคคีของชาวบ้านที่รักกันประดุจญาติมิตรและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันสละทรัพย์สมบัติและเวลามาช่วยกันสร้างวัดให้สำเร็จตามอัตภาพและฐานะของชาวบ้านในสมัยนั้น
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 13 เดือน กันยายน พ.ศ. 2453
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดตำหนักธรรมนิมิตร (บ้านอ้อย)
เชิญชมภาพประเพณี 12 เดือน ล้านนา ฝาผนังในอุโบสถ เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน มีข่วงสัปป๊ะ (ลานอเนกประสงค์) ศาลาสมุนไพร
ยาพื้นบ้าน ใจ๊ปันจ้อง อยู่บริเวณหน้าวัด เเละเขตอนุรักษ์เพาะพันธุ์ปลา เเละเป็นเขตอภัยทาน สามารถให้อาหารปลาได้
ข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2560
พระครูนิมิตธรรมวัชร์ วชิโร เจ้าอาวาสวัดตำหนักธรรมนิมิตร (บ้านอ้อย)
พระครูนิมิตธรรมวัชร์ วชิโร
ปัจจุบันอายุ 52 ปี
บวชมาแล้ว 32 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร (จต.ชอ)
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดตำหนักธรรมนิมิตร (บ้านอ้อย) และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบล (จต.)
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูนิมิตธรรมวัชร์ วชิโร
พระครูนิมิตธรรมวัชร์ วชิโร เจ้าอาวาสวัดตำหนักธรรมนิมิตร (บ้านอ้อย)
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.2551
อดีตเจ้าอาวาสวัดตำหนักธรรมนิมิตร (บ้านอ้อย)
พระอาจารย์ปัญญา ลอยมี |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระโปธา (มา) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอินตา (อภิวงค์) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระแสง จันทร์พร่ำ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระสุวรรณ (อุ่นเรือน ชอบจันทร์) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอาจารย์กันธวงศ์ (อินตา ลอยงาม) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระใหม่ (ดวงคำ บัวเขียว) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
หลวงพ่อบุญมา ผันเพลิน |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระคำปัน ศรีมูลเมือง |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการบุญมา อินชยฺโย |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระศรีนวล นิพฺพโย |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระไฝ ปรกฺกโม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอินตา ฆรมุตฺโต |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ครูบาปัญญา ปสุโต |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระการุณ อุตโม (คำพิดาน) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระเจริญ เกษรธมฺโม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระสิงห์คำ ทสฺสนธมฺโม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระบุญทอง ทีปธมฺโม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระป๋อก จุตฺตาจโม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระคำตั๋น จนฺทวโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอิ่นคำ ธมฺมรกฺขิโต |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครุบุญเลิศ อคฺคปุญโญ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูนิมิตธรรมวัชร์ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ถึงปัจจุบัน |
การจัดการศึกษาภายในวัดตำหนักธรรมนิมิตร (บ้านอ้อย)
การจัดการศึกษาภายในวัดตำหนักธรรมนิมิตร (บ้านอ้อย)นั้น จะประกอบไปด้วย
- อุทยานการศึกษา
- สวนสมุนไพรในวัด
- ศูนย์อบรมประชาชนประจำตำบล